เมนู

ยังความไม่ศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศรัทธาในธรรมนี้
ให้เกิดขึ้นแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวงว่า พระดำรัสนี้ข้าพเจ้าได้รับมา
เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชญาณทั้งสี่ ผู้
ทรงกำลังสิบ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะอันองอาจ ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่า
สัตว์ทั้งปวง ผู้เป็นใหญ่ในธรรม ผู้เป็นธรรมราชา ผู้เป็นธรรมาธิบดี
ผู้มีธรรมเป็นประทีป ผู้มีธรรมเป็นสรณะ ผู้ยังจักรอันประเสริฐ คือพระ
สัทธรรมให้หมุนไป ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในพระดำรัส
นี้ ใคร ๆ ไม่ควรทำความสงสัยหรือเคลือบแคลงในอรรถหรือธรรม
ในบทหรือพยัญชนะ เพราะฉะนั้น พระอานนท์ย่อมยังความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธาให้พินาศ ยังสัทธาสัมปทาให้เกิดขึ้นในธรรมนี้ แก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวคาถา
ประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า
พระอานนทเถระผู้เป็นสาวกของพระโคดมกล่าว
อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ย่อมยังความ
ไม่ศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังศรัทธาในพระศาสนา
ให้เจริญ ดังนี้.


แก้อรรถบท เอกํ สมยํ


บทว่า เอกํ แสดงการกำหนดนับ.
บทว่า สมยํ แสดงสมัยที่กำหนด.
สองบทว่า เอกํ สมยํ แสดงสมัยที่ไม่แน่นอน.
สมย ศัพท์ ในบทว่า สมยํ นั้น

ปรากฏในความว่าพร้อมเพรียง ขณะ กาล ประชุม
เหตุ ลัทธิ ได้เฉพาะ ละ และ แทงตลอด.

จริงอย่างนั้น สมย ศัพท์นั้น มีเนื้อความว่า พร้อมเพรียง เช่น
ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า อปฺเปวนาม เสฺวปิ อุปสงฺกเมยฺยาม กาลํ
จ สมยํ จ อุปาทาย
ชื่อแม้ไฉน เราทั้งหลายกำหนดกาลและความ
พร้อมเพรียงแล้ว พึงเข้าไปหาแม้ในวันพรุ่งนี้.
มีเนื้อความว่า ขณะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอโก จ โข ภิกฺขเว
ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอกาส
และขณะเพื่อการอยู่พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้นแล.
มีเนื้อความว่า กาล เช่นในประโยคมีอาทิว่า อุณฺหสมโย ปริฬาห-
สมโย
กาลร้อน กาลกระวนกระวาย
มีเนื้อความว่า ประชุม เช่นในประโยคมีอาทิว่า มหาสมโย
ปวนสฺมึ
การประชุมใหญ่ ในป่าใหญ่.
มีเนื้อความว่า เหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สมโยปิ โข เต
ภทฺทาลิ อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ ภควา โข สาวตฺถิยํ วิหรติ ภควาปิ
มํ ชานิสฺสติ ภทฺทาลิ นาม ภิกฺขุ สตฺถุ สาสเน สิกฺขาย น
ปริปูริการีติ อยํปิ โข เต ภทฺทาลิ สมโย อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ.

ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุนี้แล เป็นเหตุอันเธอไม่แทงตลอดแล้วว่า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ใกล้นครสาวัตถี แม้พระองค์จักทราบเราว่า
ภิกษุชื่อภัททาลิ เป็นผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระ
ศาสดา ดังนี้ ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แล ไค้เป็นเหตุอันเธอไม่แทง
ตลอดแล้ว.

มีเนื้อความว่า ลัทธิ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เตน โข ปน
สมเยน อุคฺคหมาโน ปริพฺพาชโก สมณมุณฺฑิกาปุตฺโต สมยปฺ-
ปวาทเก ติณฺฑุกาจิเร เอกสาลเก มลฺลิกาย อาราเม ปฏิวสติ.

ก็โดยสมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าอุคคหมาน บุตรของนางสมณมุณฑิกา
อยู่อาศัยในอารามของพระนางมัลลิกา ซึ่งมีศาลาหลังเดียว มีต้นมะพลับ
เรียงรายอยู่รอบ เป็นสถานที่สอนลัทธิ.
มีเนื้อความว่า ได้เฉพาะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า
ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺปรายิโก
อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.
ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ เราเรียกว่าบัณฑิต
เพราะการได้เฉพาะ ซึ่งประโยชน์ทั้งภพนี้ และ
ภพหน้า.

มีเนื้อความว่า ละ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สมฺมา มานาภิสมยา
อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส
ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะละมานะโดยชอบ.
มีเนื้อความว่า แทงตลอด เช่นในประโยคมีอาทิว่า ทุกฺขสฺส
ปีฬพฏฺโฐ สํขตฏฺโฐ สนฺตาปฏฺโฐ วิปริณามฏฺโฐ อภิสมยฏโฐ

บีบคั้น ปรุงแต่ง เร่าร้อน แปรปรวน แทงตลอด.
สำหรับในพระสุตตันตปิฎกนี้ สมย ศัพท์ มีเนื้อความว่า กาล
เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงแสดงว่า สมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัย
ทั้งหลาย อันเป็นประเภทแห่งกาล เป็นต้นว่า ปี ฤดู เดือน กึ่งเดือน
กลางคืน กลางวัน เช้า เที่ยง เย็น ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม
และครู่.

ในคำว่า สมัยหนึ่ง นั้น ในบรรดาสมัยทั้งหลาย มีปีเป็นต้นเหล่านี้
พระสูตรใด ๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในปี ในฤดู ในเดือน ในปักษ์
ในกาลอันเป็นส่วนกลางคืน หรือในกาลอันเป็นส่วนกลางวันใด ๆ ทั้ง
หมดนั้น พระอานนทเถระก็ทราบดี คือกำหนดไว้อย่างดีด้วยปัญญา
แม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น เมื่อท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ในปีโน้น ฤดูโน้น เดือนโน้น ปักษ์โน้น กาลอันเป็นส่วนแห่งกลาง
คืนโน้น หรือกาลอันเป็นส่วนกลางวันโน้น ดังนี้ ใคร ๆ ก็ไม่อาจทรงจำ
ได้หรือแสดงได้ หรือให้ผู้อื่นแสดงได้ โดยง่าย และเป็นเรื่องที่ต้องกล่าว
มาก ฉะนั้น พระอานนทเถระจึงประมวลเนื้อความนั้นไว้ด้วยบทเดียว
ท่านั้น กล่าวว่าสมัยหนึ่ง ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ย่อมแสดงว่า สมัยของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
เป็นประองกาลมิใช่น้อยทีเดียว ที่ปรากฏมากมายใน
หมู่เทวดาและมนุษย์ทั้ง มีอาทิอย่างนี้ คือ สมัยเสด็จก้าวลงสู่พระ
ครรภ์ สมัยประสูติ สมัยทรงสลดพระทัย สมัยเสด็จออกผนวช สมัยทรง
บำเพ็ญทุกกรกิริยา สมัยทรงชนะมาร สมัยตรัสรู้ สมัยประทับเป็นสุขใน
ทิฏฐธรรม สมัยตรัสเทศนา สมัยเสด็จปรินิพพาน เหล่านี้ใด ในบรรดา
สมัยเหล่านั้น สมัยหนึ่ง คือสมัยตรัสเทศนา.
อนึ่ง ในบรรดาสมัยแห่งญาณกิจ และกรุณากิจ สมัยแห่งกรุณากิจ
นี้ใด ในบรรดาสมัยทรงบำเพ็ญประโยชน์พระองค์และทรงบำเพ็ญประ
โยชน์ผู้อื่น สมัยทรงบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นนี้ใด ในบรรดาสมัยแห่งกรณียะ
ทั้งสองแก่ผู้ประชุมกัน สมัยตรัสธรรมีกถานี้ใด ในบรรดาสมัยแห่งเทศนา
และปฏิบัติ สมัยแห่งเทศนานี้ใด ท่านพระอานนท์กล่าวว่า สมัยหนึ่ง

ดังนี้ หมายถึงสมัยใดสมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยทั้งหลายแม้เหล่านั้น.
ถามว่า ก็เหตุไร ในพระสูตรนี้ท่านจึงท่านิเทศ ด้วยทุติยาวิภัตติว่า
เอกํ สมยํ ไม่กระทำเหมือนอย่างในพระอภิธรรม ซึ่งท่านได้ทำนิเทศ
ด้วยสัตตมีวิภัตติ ว่า ยสฺมํ สมเย กามาวจรํ และในสุตตบทอื่น ๆ จาก
พระอภิธรรมนี้ ก็ทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว ภิกฺขุ
วิวิจฺเจว กาเมหิ
ส่วนในพระวินัยท่านท่านิเทศด้วยตติยาวิภัตติว่า เตน
สมเยน พุทฺโธ ภควา
?
ตอบว่า เพราะในพระอภิธรรมและพระวินัยนั้น มีอรรถเป็นอย่าง
นั้น ส่วนในพระสูตรนี้มีอรรถเป็นอย่างอื่น. จริงอยู่ บรรดาปิฎกทั้ง 3 นั้น
ในพระอภิธรรมและในสุตตบทอื่นจากพระอภิธรรมนี้ ย่อมสำเร็จอรรถ
แห่งอธิกรณะและอรรถแห่งการกำหนดภาวะด้วยภาวะ. ก็อธิกรณะ คือ
สมัยที่มีกาลเป็นอรรถและมีประชุมเป็นอรรถ และภาวะแห่งธรรมมีผัสสะ
เป็นต้น ท่านกำหนดด้วยภาวะแห่งสมัย กล่าวคือ ขณะ ความพร้อมเพรียง
และเหตุ แห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ที่ตรัสไว้ในพระอภิธรรมและสุตตบท
อื่นนั้น ๆ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องอรรถนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยสัตตมี
วิภัตติในพระอภิธรรมและในสุตตบทอื่นนั้น. ส่วนในพระวินัย ย่อมสำเร็จ
อรรถแห่งเหตุและอรรถแห่งกรณะ. จริงอยู่ สมัยแห่งการทรงบัญญัติสิกขา
บทนั้นใด แม้พระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้น ก็ยังรู้ยาก โดยสมัยนั้นอัน
เป็นเหตุและเป็นกรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงบัญญัติสิกขาบท
ทั้งหลาย และทรงพิจารณาถึงเหตุแห่งการทรงบัญญัติสิกขาบท ได้ประทับ
อยู่ในที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยตติยา
วิภัตติในพระวินัยนั้น. ส่วนในพระสูตรนี้ และพระสูตรอื่นที่มีกำเนิด

อย่างนี้ ย่อมสำเร็จอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงพระสูตรนี้ หรือพระสูตรอื่น ตลอดสมัยใด เสด็จประทับอยู่ด้วย
ธรรมเป็นเครื่องอยู่คือกรุณา ตลอดสมัยนั้นทีเดียว. เพราะฉะนั้น เพื่อ
ส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศด้วยทุติยาวิภัตติในพระสูตรนี้ . เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า
ท่านพิจารณาอรรถนั้น ๆ กล่าวสมยศัพท์ในปิฎก
อื่นด้วยสัตตมีวิภัตติและด้วยตติยาวิภัตติ แต่ใน
พระสุตตันตปิฎกนี้ กล่าวสมยศัพท์นั้น ด้วยทุติยา-
วิภัตติ.

แต่พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย อธิบายว่า สมยศัพท์นี้ต่างกันแต่เพียง
โวหาร ว่า ตสฺมึ สมเย หรือว่า เตน สมเยน หรือว่า ตํ สมยํ เท่านั้น
ทุกปิฎกมีเนื้อความเป็นสัตตมีวิภัตติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ถึงท่านกล่าว
ว่า เอกํ สมยํ ก็พึงทราบเนื้อความว่า เอกสฺมึ สมเย ในสมัยหนึ่ง

แก้อรรถบท ภควา


บทว่า ภควา แปลว่า ครู. จริงอยู่ บัณฑิตทั้งหลาย เรียกครูว่า
ภควาในโลก. และพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ก็ทรงเป็นครูของสรรพสัตว์ทั้ง
หลาย เพราะทรงเป็นผู้ประเสริฐที่สุดโดยคุณทั้งปวง ฉะนั้น พึงทราบว่า
ทรงเป็นภควา แม้พระโบราณาจารย์ทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้ว่า
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา
เป็นคำสูงสุด เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง
ควรแก่ความเคารพโดยฐานเป็นครู ฉะนั้น จึงทรง
พระนามว่า ภควา.